หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จพิมพ์ดอกสาละฐานแซม

 พระสมเด็จพิมพ์ดอกสาละฐานแซม พุทธศิลป์น้อมนำเหตุการณ์วัดประสูติที่ใต้ต้นสาละ โดยใช้สัญญลักษณ์ดอกสาละบ่งบอกรายล้อมองค์พระที่ประทับนั่ง เนื้อมวลสารมีส่วนผสมของสอเหลืองหรือดินโป่งเหลืองมากเป็นพิเศษจึงทำให้วรรณะออกเหลืองขมิ้น พิมพ์นี้ดูแปลกตาลักษณะของพุทธศิลป์น่าจะก่อนยุคปลาย




ดอกสาละ

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564

พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ (ขอบล่างฟันหนู)

 พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ขอบล่างฟันหนู อาจจะเป็นพระนอกพิมพ์นิยมของวงการ แต่ระยะหลังมาก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวางของกลุ่มคนรุ่นที่นิยมแสวงหาพระสมเด็จที่ไม่เชื่อตามเซียนเพียงอย่างเดียว แต่เปิดวิสัยทัศน์กว้างขึ้น โดยจากผู้ที่มีความรู้และมุมมองที่แตกต่างรวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณาด้วย



พระสมเด็จเจ้าฟ้า พิมพ์กกุสันโธ

พระสมเด็จเจ้าฟ้าพิมพ์กกุสันโธ พุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิประทับเหนือรูปไก่อันเป็นสัญญลักษณ์บ่งถึงพระกกุสันโธพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้าพระองค์แรก 1ใน5พระองค์ของภัทรกัปป์นี้) แกะแม่พิมพ์โดยช่างสิบหมู่ มวลลสารสร้างด้วยปูนสอ(ปูนขาวผสมทราย)เป็นส่วนใหญ่ พิมพ์นี้สร้างขึ้นที่วัดบวรสถานสุทธาวาส(วัดพระแก้ววังหน้า)ปีที่สร้างพ.ศ.๒๔๑๑
"เรื่องราวของพระสมเด็จฯอันทรงอิสริยยศนี้ เลือกผู้เป็นเจ้าของตามกุศลแต่หนหลัง ทั้งมิได้มีแพร่หลายดาษดื่นเช่นลักษณะสามัญ จะมีอยู่บ้างก็เพียงข้าราชสำนักในรัชกาลก่อนและมักจะมีการเก็บตายเป็นส่วนใหญ่ นับเป็นพระพิมพ์สมเด็จฯซึ่งสร้างขึ้นเพื่อการบรรจุกรุโดยเฉพาะ ที่เหลือแจกในวังเป็นส่วนน้อยแทบจะหาดูไม่ได้" ....นี้เป็นข้อเขียนของอ.ประถม อาจสาคร อันเกี่ยวกับพระสมเด็จเจ้าฟ้า และท่านเป็นผู้ถวายพระนามนี้ด้วยเหตุผล
๑.องค์ประธานในการสร้างพระพิมพ์คือ สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(ลิ้นดำ)
๒.พระคณาจารย์ปรกคือ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี(โอรสในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาถ มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าชายพระองค์หนึ่ง)
๓.พระคณาจารย์ปรกคือ กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์(กรมพระยาปวเรศฯ)พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ มีฐานันดรศักดิ์เป็นเจ้าฟ้าชาย
รวมเป็นไตรภาคีเจ้าฟ้า นอกจากนี้ยังมีท่านเจ้ามา พระพุทธบาทปิลันท์เป็นพระคณาจารย์นั่งปรกด้วย พรั่งพร้อมด้วยพระวิปัสสนาจารย์พระเถราจารย์ทั้งฝ่ายอรัญญวาสีและคามวาสีแห่งแผ่นดินที่๔
อ้างอิง : หนังสือ ปู่. เล่าให้ฟัง ฉบับสมบูรณ์ โดย อ.ประถม อาจสาคร (ข้อเขียนบทความของท่านอ้างอิงจาก สาส์นสมเด็จ .พระราชพงศาวดารรัชกาลที่๔ฉบับเจ้าพระยาทิพากรณ์วงศ์)


                                                     


   ระยะหลังมานี้ผู้เขียนได้พบเห็นพิมพ์ในลักษณะพิมพ์คล้ายกันแต่นื้อหาและรายละเอียดพิมพ์ที่ต่างกัน ก็ไม่ทราบที่มาของขององค์ที่กล่าวถึง ดูมวลสารไม่เก่าเท่าแต่ไม่คิดว่าจะเป็นพระทำปลอมขึ้นมา น่าจะเป็นพระที่สร้างเพื่อสืบทอดตามรอยพิมพ์รุ่นเก่าก็เป็นได้ เป็นคนละวาระแน่แต่จะเป็นช่วงเวลาไหน มีรูปมาให้พิจารณาด้วยครับ



วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564

พระสมเด็จพิมพ์พระประธานฐานขาสิงห์

   พระสมเด็จพิมพ์พระประธานขาสิงห์ ลักษณะแบบพระพุทธรูปมีพระกรรณและปรากฏรายละเอียดของจีวรรวมถึงสังฆาฏิ องค์พระประทับนั่งบนตั่งขาสิงห์ที่เห็นสันเหลี่ยมแบบนูนต่ำ พระองค์นี้มีการลงรักปิดทองร่องชาดมาแต่เดิมแต่ถูกล้างออก พุทธศิลป์มีรูปแบบไปในแนวทางเดียวกันกับที่ปรากฏในหนังสือพระสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ที่เขียนและรวบรวมโดยวิมล ยิ้มละมัย อดีตบก.หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (ขออนุญาตนำภาพในหนังสือดังกล่าวมาเพื่อศึกษาประกอบด้วยครับ)



 
ศิลปะที่คล้ายคลึงกัน



พระสมเด็จพิมพ์คู่

   พระสมเด็จพิมพ์คู่ วัดระฆัง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่แปลกตา มีข้อมูลภาพของพิมพ์นี้ในหนังสือพระสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ที่เขียนโดย วิมล ยิ้มละมัย อดีตบก.หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ที่รวบรวมพระสมเด็จพิมพ์พิเศษไว้มากมาย
   นอกจากทางวัดระฆังจะนำพิมพ์นี้มาจัดสร้างแล้วทางสายพระสกุลวังก็ได้นำรูปแบบพิมพ์นี้มาจัดสร้างด้วยเช่นกัน เนื้อหามวลสารแตกต่างกันเป็นไปตามแบบและแนวทางของแต่ละสาย
   องค์ที่นำมาแบ่งปันให้ชมเป็นพระสมเด็จพิมพ์คู่ของทางสายวัดระฆังครับ





 

พระสมเด็จพิมพ์เล็บมือ

 พระสมเด็จพิมพ์เล็บมือ ลักษณะเป็นทรงมนไม่ได้ตัดขอบแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ด้านหน้าเรียบมีเส้นบังคับพิมพ์และซุ้มครอบแก้วส่วนพิมพ์ด้านในก็มีทั้งที่เป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์ฐานแซมและอื่นๆด้วยเช่นกัน ส่วนหลังเป็นแบบหลังประทุนมีความอูมโค้งพอประมาณ องค์พระมีการลงรักปิดทองร่องชาด แต่จากเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนานก์มีคราบไคลและแคลไซด์ปกคลุมผิวพระ บางองค์ก็ถูกล้างผิวออกคงเพราะอยากมองเห็นเนื้อมวลสาร (นำภาพมาลงให้ชมทั้งสองแบบอย่าง)





รูปเหมือนสมเด็จโต




    รูปเหมือนสมเด็จโตแบบครึ่งซีกด้านหลังเรียบ พิมพ์นี้มีสร้างในวาระต่อๆมาด้วยลักษณะคล้ายกันแต่ต่างที่มิติความลึกของพิมพ์ หน้าของสมเด็จโตผิดเพี้ยนจากพิมพ์นี้ไปบ้างแต่ก็สวยงามไปอีกแบบ องค์นี้ลงรักชาดเก่า เนื้อมวลสารแห้งละเอียด ขนาดแบบตั้งบูชาได้ไม่ใหญ่นัก