พระสมเด็จ สิ่งมงคลสูงค่าหลากหลายรูปแบบ มรดกที่สมเด็จโตฝากไว้ให้ลูกหลาน แต่ถูกปิดบังซ่อนเร้นมาตลอดเวลาหลายปี เมื่อถึงเวลา...ฟ้าก็ปิดไม่อยู่ ได้ปรากฏมาให้เห็นทั่วแผ่นดิน ลองเปิดใจศึกษาร่วมกันดู สุดแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านครับ ชมภาพและข้อมูลในอีกช่องทางหนึ่งที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ : พระสกุลวัง พระสมเด็จโต
วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
พระสมเด็จ ลงรักชาดปิดทอง พิมพ์ใหญ่๑
พระสมเด็จ ลงรักชาดปิดทอง เนื้อมวลสารแบบปูนนุ่ม ลงรักชาด(แดงดำ)ค่อนข้างหนามีปิดทองเล็กน้อย บางส่วน รักชาดที่เคลือบรักษาเนื้อพระไว้น่าจะได้ทำหลังจากพระแห้งสนิทดีแล้ว เมื่อผ่านกาลเวลามาจึงร่อนหลุดได้ไม่ยากแต่ก็มีส่วนที่แทรกซึมเข้าไปตามซอกโดยเฉพาะที่ขอบองค์พระที่ยังฝังติดอยู่
พระสมเด็จ ลงรักชาดปิดทอง(บางส่วน) พิมพ์ใหญ่๒
พระสมเด็จ เนื้อมวลสารแบบปูนนุ่ม ลงรักชาด(แดงดำ)ค่อนข้างหนามีปิดทองเล็กน้อย (บางส่วน) รักชาดที่เคลือบรักษาเนื้อพระไว้น่าจะได้ทำหลังจากพระแห้งสนิทดีแล้ว เมื่อผ่านกาลเวลามาจึงร่อนหลุดได้ไม่ยากแต่ก็มีส่วนที่แทรกซึมเข้าไปตามซอกโดยเฉพาะที่ขอบองค์พระที่ยังฝังติดอยู่
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระสมเด็จลงรักปิดทอง
หากได้ศึกษาประวัติอย่างกว้างขวางถึงพระพิมพ์ของสมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) หรือที่เกี่ยวข้องเกี่ยวโยงกับท่าน นับว่ามีจำนวนไม่น้อย มีบรรจุอยู่ในวัดต่างๆหลายแห่ง ทั้งสืบค้นได้และที่สืบไปไม่ถึง บ้างคลุมเครือจนต้องหาผู้ที่มีความรู้น่าเชื่อถือมาวิเคราะห์ แต่ท้ายสุด..ก็ต้องแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละบุคคลที่จะเลือกเชื่อแบบไหน
สำหรับผู้ที่ศรัทธาในบารมีของสมเด็จฯท่าน หากไม่มุ่งหวังด้านค่านิยม มูลค่า ราคา โอกาสที่จะได้พระที่ทันยุคท่านมาบูชาเพื่อเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตัวท่านเองนั้นไม่ใช่เรื่องเกินฝัน พระสมเด็จต่างวัดที่ไม่ได้สร้างไว้ที่วัดระฆัง แต่องค์อธิษฐานจิตเดียวกันกับพระสมเด็จวัดระฆังก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับท่านได้ตั้งโจทย์กับพระสมเด็จไว้อย่างไร...
พระสมเด็จเนื้อปูนสอ
เท่าที่ได้ยินได้ฟังหรือได้ศึกษากันมา พระสมเด็จวัดระฆังเชื่อกันว่ามวลสารหลักจะได้แก่ปูนเปลือกหอย ผงพุทธคุณและมวลสารอื่นอีกหลายอย่างตามทฤษฏีของพระสมเด็จวัดระฆัง แต่สำหรับพระที่บรรจุในสถานที่อื่นๆ หรือสร้างในวาระอื่น เนื้อหามวลสารก็มีความแตกต่างกันไป แต่ก็ยังมีความเชื่อมโยงทางด้านทฤษฏี(สูตรการสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง)
ความเชื่อมโยงนั้นคงต้องมองให้กว้างออกไปด้วย ทั้งทางด้านเนื้อหามวลสาร ที่นำมาประกอบ (จะหลายๆอย่าง หรือมีเพียงไม่กี่อย่างก็ยังเป็นได้) และยังมีความเชื่อมโยงด้านอื่นๆด้วย เช่นพิมพ์พระ หรือศิลปะทางพุทธศิลป์ จึงเป็นมูลในการวิเคราะห์กันถึงความเป็นไปได้ ว่าพระพิมพ์ที่สมเด็จโตท่านสร้าง หรือดำริให้จัดสร้างนั้นคงไม่ได้มีเพียงเท่าที่เห็น หรือนิยมอยู่วงการพุทธพาณิชย์ เนื้อแบบอื่นๆ พิมพ์อื่นๆที่นอกเหนือจากที่ยกมาเป็นเกณฑ์ ก็คงมีด้วยเช่นกัน.
พระในภาพ ผู้อาวุโสในวงการพระสมเด็จท่านว่า เป็นพระที่สร้างด้วยมวลสารหลักคือปูนดินสอพองหรือปูนสอ อาจเรียกว่าอีกอย่างว่าเนื้อผงล้วน ซึ่งก็คือผงดินสอพอที่ปั้นเป็นแท่งแล้วนำมาเขียนอักขระเลขยันต์บนกระดานชนวนแล้วลบผงที่เรียกกันว่าผงวิเศษ แล้วใช้ตัวประสานเช่นน้ำอ้อยเคี่ยวมาประสานเนื้อให้เกาะตัวเป็นรูปร่าง
ความเชื่อมโยงนั้นคงต้องมองให้กว้างออกไปด้วย ทั้งทางด้านเนื้อหามวลสาร ที่นำมาประกอบ (จะหลายๆอย่าง หรือมีเพียงไม่กี่อย่างก็ยังเป็นได้) และยังมีความเชื่อมโยงด้านอื่นๆด้วย เช่นพิมพ์พระ หรือศิลปะทางพุทธศิลป์ จึงเป็นมูลในการวิเคราะห์กันถึงความเป็นไปได้ ว่าพระพิมพ์ที่สมเด็จโตท่านสร้าง หรือดำริให้จัดสร้างนั้นคงไม่ได้มีเพียงเท่าที่เห็น หรือนิยมอยู่วงการพุทธพาณิชย์ เนื้อแบบอื่นๆ พิมพ์อื่นๆที่นอกเหนือจากที่ยกมาเป็นเกณฑ์ ก็คงมีด้วยเช่นกัน.
พระในภาพ ผู้อาวุโสในวงการพระสมเด็จท่านว่า เป็นพระที่สร้างด้วยมวลสารหลักคือปูนดินสอพองหรือปูนสอ อาจเรียกว่าอีกอย่างว่าเนื้อผงล้วน ซึ่งก็คือผงดินสอพอที่ปั้นเป็นแท่งแล้วนำมาเขียนอักขระเลขยันต์บนกระดานชนวนแล้วลบผงที่เรียกกันว่าผงวิเศษ แล้วใช้ตัวประสานเช่นน้ำอ้อยเคี่ยวมาประสานเนื้อให้เกาะตัวเป็นรูปร่าง
วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2562
พระสมเด็จโต พิมพ์ขุนแผนแขนอ่อน
พระสมเด็จโต สร้างพิมพ์เจริญรอยตามพระโบราณหรือล้อพิมพ์แบบพระขุนแผนแขนอ่อน วรรณะขาวนวล แห้งละเอียด มวลสารหลายอย่างในเนื้อเท่าที่สังเกตุเห็นมี หินสีเทา เม็ดแดง ผงดำ เกสรดอกไม้ และอื่นๆ
วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
พระสมเด็จ พิมพ์ไม้ระย้าข้างฉัตร
พระสมเด็จ พิมพ์ไม้ระย้าข้างฉัตร เนื้ออมเหลืองแก่น้ำมัน คราบไขขึ้นปกคลุมมากทั่วทั้งองค์ขาวจนแทบไม่เห็นเนื้อในที่ออกเหลือง เป็นพระสมเด็จยุคต้น-กลาง
พระสมเด็จ พิมพ์ลายกนก
พระสมเด็จ พิมพ์ลายกนก(ช่างหลวง) เนื้ออมเหลืองแก่น้ำมัน คราบไขแคลไซด์ขึ้นเกาะติดหนาแน่น เป็นพิมพ์ที่ออกแบบได้งดงามพิมพ์หนึ่ง เอกลักษณ์แบบไทยๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)