พระสมเด็จ พิมพ์นี้ดูจะแตกต่างจากรูปทรงโดยทั่วไปลักษณะตัดขอบรูปทรงจากพิมพ์สี่เหลี่ยม ช่างหลวงได้บรรจงแกะแม่พิมพ์ได้งดงาม มีเส้นสายใบโพธิ์ให้เห็นลางๆ เนื้อหาหนึกนุ่ม วรรณะสีเหลืองอ่อน สร้างจำนวน ๒oooองค์ ในปีพ.ศ.๒๔o๙ สมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพุฒาจารย์พรรษาที่๓
พลานุภาพ ดีเด่นเป็นพิเศษในการรักษาไข้ เหมาะสำหรับผู้ประกอบอาชีพเป็นแพทย์และเหมาะสำหรับสตรี ด้วยรูปทรงที่กระทัดรัด
พระสมเด็จ สิ่งมงคลสูงค่าหลากหลายรูปแบบ มรดกที่สมเด็จโตฝากไว้ให้ลูกหลาน แต่ถูกปิดบังซ่อนเร้นมาตลอดเวลาหลายปี เมื่อถึงเวลา...ฟ้าก็ปิดไม่อยู่ ได้ปรากฏมาให้เห็นทั่วแผ่นดิน ลองเปิดใจศึกษาร่วมกันดู สุดแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านครับ ชมภาพและข้อมูลในอีกช่องทางหนึ่งที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ : พระสกุลวัง พระสมเด็จโต
วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
พระสมเด็จ พิมพ์ประทานพร
พระสมเด็จ พิมพ์นี้ในหนังสือจัดอยู่ในกลุ่มพิมพ์ปัญจวัคคีย์ ด้านล่างเป็นปัจจวัคคีย์ทั้ง5 สร้างในปีพ.ศ.๒๓๕๕ ขนาดองค์พระค่อนข้างเขื่องสักหน่อย เนื้อจัด ออกมันๆดูหนึกนุ่มแบบพระสายวัง เนื้อด้านหน้าองค์พระมีการหดตัวจนปริแยกจากธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลา
พลานุภาพในองค์พระ อิทธิคุณนอกจากที่เป็นมาตรฐานแล้ว มีความดีเลิศด้านสัมผัสรับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เหมือนมีพรายกระซิบ (จากข้อมูลในหนังสือ)
พลานุภาพในองค์พระ อิทธิคุณนอกจากที่เป็นมาตรฐานแล้ว มีความดีเลิศด้านสัมผัสรับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เหมือนมีพรายกระซิบ (จากข้อมูลในหนังสือ)
อ้างอิง: หนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต / พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ (พระเจ้าสิบชาติ)
พระสมเด็จ พิมพ์นี้จัดอยู่ในหมวดพิมพ์พระเจ้าสิบชาติ องค์ประกอบของพิมพ์ภายในมีพระองค์เล็กที่เหมือนอยู่ในช่องหน้าต่างถึงสิบองค์ น่าจะมีความหมายในคตินิยมความเชื่อทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์สร้างทศบารมีในแต่ละชาติของพระพุทธเจ้า
ข้อมูลในหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต ว่าสร้างจำนวน ๑,oooองค์ ในปีพ.ศ.๒๔o๙ ผงมวลสารหลายชนิด เข้าแว่นจะเห็นส่วนผสมที่หลากหลาย มีการลงรักแต่ได้ลบรักออกหรืออาจหลุดร่อนไปตามกาลเวลา
พลานุภาพในองค์พระ นอกเหนือจากอิทธิคุณที่เป็นมาตรฐานของพระสมเด็จแล้ว จะมีสิ่งดีพิเศษในด้านหนุนชีวิตให้มีความมั่นคง วาสนาดี ชีวิตไม่ตกต่ำ
อ้างอิงข้อมูล: หนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต /พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน
พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์
พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์นี้อาจเป็นพิมพ์ที่ไม่คุ้นตานัก ด้วยเป็นพระที่อยู่นอกกระแสนิยม เป็นแบบที่หลากหลายออกไป
พิมพ์ปรกโพธิ์ใบแหลม ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐาน๓ชั้น เนื้อหนึกนุ่มนวลตา ลงรักแต่เดิม อาจมีการล้างออก หรือหลุดร่อนตามกาลเวลา ยังคงมีติดค้างบางส่วนตามซอกมุม อิทธิคุณ ดีเด่นด้านทำให้มีความเจริญ อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
พิมพ์ปรกโพธิ์รัศมี ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานตั่งขาคู้ ศิลปะช่างหลวง ลักษณะใบโพธิ์กระจายเหมือนรัศมี เนื้อแห้งหนึกนุ่ม สัดส่วนองค์ประกอบสวยงามมาก รักดำคงเหลือติดอยู่ตามซอกมุม
องค์ขนาดใหญ่สำหรับพกติดตัวไว้ตั้งบูชา |
ด้านหลังประทับครุฑใหญ่ |
พระสมเด็จ พิมพ์อัครสาวก
พระสมเด็จ วัดระฆัง มีการสร้างหลายวาระและหลายเนื้อที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ปลุกเสกไว้เช่นกัน
พิมพ์พระอัครสาวก(พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร) เป็นพิมพ์ที่สวยงามแกะโดยช่างหลวง(ช่างสิบหมู่) เนื้อผงแบบแกร่ง เป็นเนื้อสองสีอยู่คนละส่วนเป็นแถบ เหมือนนำสองเนื้อมารวมกัน เป็นเนื้อหามวลสารที่แปลก ขนาด๓ซ.ม x ๔.๗ซ.ม.
พลานุภาพ นอกเหนือจากอิทธิคุณที่เป็นมาตรฐานของพระสมเด็จแล้ว จะดีเด่นเป็นพิเศษทางด้านคุ้มครองป้องกันโรคภัย และครรภ์รักษา สร้างจำนวน ๑,oooองค์ ปีพ.ศ.๒๓๕๖
พระสมเด็จ กักไม้ขีด
พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่(กลักไม้ขีด)
องค์พระมีลักษณะแบบพิมพ์ใหญ๋พระประธาน เนื้อขาวละเอียดแห้ง ทรงสี่เหลี่ยมขอบหนาเหมือนกล่องไม้ขีด
องค์พระมีลักษณะแบบพิมพ์ใหญ๋พระประธาน เนื้อขาวละเอียดแห้ง ทรงสี่เหลี่ยมขอบหนาเหมือนกล่องไม้ขีด
พระสมเด็จ หลังก้างปลา
พระสมเด็จ หลังฝังก้างปลา องค์ในรูปเป็นพระที่สร้างในยุคกลางน่าจะเป็นพิมพ์ที่ช่างชาวบ้านแกะถวายสมเด็จโต เนื้อพระเป็นผงที่มีมวลสารจำพวกหรดาล ,โป่งเหลืองมาก สีจึงออกเหลือง
มีทั้งเหลืองอ่อนและเหลืองแก่แล้วแต่ความมากน้อยของส่วนผสม ดูเหนียวหนึกนุ่มวลตาเหมือนเนื้อกล้วยบด ส่วนผสมภายในเนื้อพระมีเม็ดขาวขุ่นเม็ดเล็กๆ
เนื้อนี้สร้างอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน (ในหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน) บางพิมพ์ออกเหลืองเข้มอาจด้วยจัดสร้างเป็นคราวๆแต่ละยุค หรือแต่ละวาระไป
การฝังก้างปลา น่าจะเป็นคตินิยมโบราณในทางมงคล สัญญลักษณ์ปลาในสมัยโบราณมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ในส่วนของก้างปลานั้นมีทั้งชิ้นที่เป็นก้างและเป็นกระดูกกลาง มีทั้งยาวและสั้นแบบข้อเดียว
เนื้อนี้สร้างอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน (ในหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน) บางพิมพ์ออกเหลืองเข้มอาจด้วยจัดสร้างเป็นคราวๆแต่ละยุค หรือแต่ละวาระไป
การฝังก้างปลา น่าจะเป็นคตินิยมโบราณในทางมงคล สัญญลักษณ์ปลาในสมัยโบราณมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ในส่วนของก้างปลานั้นมีทั้งชิ้นที่เป็นก้างและเป็นกระดูกกลาง มีทั้งยาวและสั้นแบบข้อเดียว
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)