หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พระสมเด็จ พิมพ์ประทานพร

     พระสมเด็จ พิมพ์นี้ในหนังสือจัดอยู่ในกลุ่มพิมพ์ปัญจวัคคีย์ ด้านล่างเป็นปัจจวัคคีย์ทั้ง5 สร้างในปีพ.ศ.๒๓๕๕ ขนาดองค์พระค่อนข้างเขื่องสักหน่อย เนื้อจัด ออกมันๆดูหนึกนุ่มแบบพระสายวัง เนื้อด้านหน้าองค์พระมีการหดตัวจนปริแยกจากธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลา
     พลานุภาพในองค์พระ อิทธิคุณนอกจากที่เป็นมาตรฐานแล้ว มีความดีเลิศด้านสัมผัสรับรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า เหมือนมีพรายกระซิบ (จากข้อมูลในหนังสือ)
    




อ้างอิง: หนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต / พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน

พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ (พระเจ้าสิบชาติ)


     
พระสมเด็จ พิมพ์นี้จัดอยู่ในหมวดพิมพ์พระเจ้าสิบชาติ องค์ประกอบของพิมพ์ภายในมีพระองค์เล็กที่เหมือนอยู่ในช่องหน้าต่างถึงสิบองค์ น่าจะมีความหมายในคตินิยมความเชื่อทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับการเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์สร้างทศบารมีในแต่ละชาติของพระพุทธเจ้า
     ข้อมูลในหนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต ว่าสร้างจำนวน ๑,oooองค์ ในปีพ.ศ.๒๔o๙ ผงมวลสารหลายชนิด เข้าแว่นจะเห็นส่วนผสมที่หลากหลาย มีการลงรักแต่ได้ลบรักออกหรืออาจหลุดร่อนไปตามกาลเวลา
     พลานุภาพในองค์พระ นอกเหนือจากอิทธิคุณที่เป็นมาตรฐานของพระสมเด็จแล้ว จะมีสิ่งดีพิเศษในด้านหนุนชีวิตให้มีความมั่นคง วาสนาดี ชีวิตไม่ตกต่ำ
     อ้างอิงข้อมูล: หนังสือ ภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต /พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน












พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์

     พระสมเด็จ พิมพ์ปรกโพธิ์นี้อาจเป็นพิมพ์ที่ไม่คุ้นตานัก ด้วยเป็นพระที่อยู่นอกกระแสนิยม  เป็นแบบที่หลากหลายออกไป
     พิมพ์ปรกโพธิ์ใบแหลม ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐาน๓ชั้น เนื้อหนึกนุ่มนวลตา ลงรักแต่เดิม อาจมีการล้างออก หรือหลุดร่อนตามกาลเวลา ยังคงมีติดค้างบางส่วนตามซอกมุม อิทธิคุณ ดีเด่นด้านทำให้มีความเจริญ อยู่ร่มเย็นเป็นสุข




     พิมพ์ปรกโพธิ์รัศมี ปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานตั่งขาคู้ ศิลปะช่างหลวง ลักษณะใบโพธิ์กระจายเหมือนรัศมี เนื้อแห้งหนึกนุ่ม สัดส่วนองค์ประกอบสวยงามมาก รักดำคงเหลือติดอยู่ตามซอกมุม



องค์ขนาดใหญ่สำหรับพกติดตัวไว้ตั้งบูชา

ด้านหลังประทับครุฑใหญ่


พระสมเด็จ พิมพ์อัครสาวก


     พระสมเด็จ วัดระฆัง มีการสร้างหลายวาระและหลายเนื้อที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นพระที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) ปลุกเสกไว้เช่นกัน
     พิมพ์พระอัครสาวก(พระโมคคัลลาน์-พระสารีบุตร) เป็นพิมพ์ที่สวยงามแกะโดยช่างหลวง(ช่างสิบหมู่) เนื้อผงแบบแกร่ง เป็นเนื้อสองสีอยู่คนละส่วนเป็นแถบ เหมือนนำสองเนื้อมารวมกัน เป็นเนื้อหามวลสารที่แปลก ขนาด๓ซ.ม x ๔.๗ซ.ม.
     พลานุภาพ นอกเหนือจากอิทธิคุณที่เป็นมาตรฐานของพระสมเด็จแล้ว จะดีเด่นเป็นพิเศษทางด้านคุ้มครองป้องกันโรคภัย และครรภ์รักษา สร้างจำนวน ๑,oooองค์ ปีพ.ศ.๒๓๕๖
   








พระสมเด็จ กักไม้ขีด

พระสมเด็จ พิมพ์ใหญ่(กลักไม้ขีด)
     องค์พระมีลักษณะแบบพิมพ์ใหญ๋พระประธาน เนื้อขาวละเอียดแห้ง ทรงสี่เหลี่ยมขอบหนาเหมือนกล่องไม้ขีด






พระสมเด็จ หลังก้างปลา

     พระสมเด็จ หลังฝังก้างปลา องค์ในรูปเป็นพระที่สร้างในยุคกลางน่าจะเป็นพิมพ์ที่ช่างชาวบ้านแกะถวายสมเด็จโต เนื้อพระเป็นผงที่มีมวลสารจำพวกหรดาล ,โป่งเหลืองมาก สีจึงออกเหลือง มีทั้งเหลืองอ่อนและเหลืองแก่แล้วแต่ความมากน้อยของส่วนผสม ดูเหนียวหนึกนุ่มวลตาเหมือนเนื้อกล้วยบด ส่วนผสมภายในเนื้อพระมีเม็ดขาวขุ่นเม็ดเล็กๆ
     เนื้อนี้สร้างอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน  (ในหนังสือภาพ-ประวัติ พระสมเด็จโต โดย พ.ต.ต.จำลอง มัลลิกะนาวิน) บางพิมพ์ออกเหลืองเข้มอาจด้วยจัดสร้างเป็นคราวๆแต่ละยุค หรือแต่ละวาระไป
     การฝังก้างปลา น่าจะเป็นคตินิยมโบราณในทางมงคล สัญญลักษณ์ปลาในสมัยโบราณมีความหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ในส่วนของก้างปลานั้นมีทั้งชิ้นที่เป็นก้างและเป็นกระดูกกลาง มีทั้งยาวและสั้นแบบข้อเดียว










พระสมเด็จ พิเศษ ประดับอัญมณี

      พระสมเด็จ พิเศษ เป็นพระที่สมเด็จพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี ท่านสร้างไว้เป็นกรณีพิเศษ สำหรับเป็นที่ระลึกหรือ เพื่อมอบให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ  เนื้อหามวลสารดูแตกต่างจากพระสมเด็จโดยทั่วไปบ้าง  องค์พระค่อนข้างหนา มีการประดับอัญมณี(แท้)ไว้ โดยฝังไว้แต่เดิม  บางจุดที่กดอัญมณีไม่จมลึกมากอาจหลุดออกและมีการติดเข้าไปใหม่ในภายหลัง(โดยคนรุ่นหลัง)ก็มี
     บางองค์ที่ท่านทำเพื่อมอบให้ชาวต่างชาติ ถึงแม้เขาจะมีศรัทธาในศาสนาอื่น ท่านก็ยังเมตตามอบให้เป็นที่ระลึกโดยมีสัญญลักษณ์ของศาสนาอยู่บนองค์พระนั้นด้วย เช่น ชาวต่างชาตินับถือศาสนาคริสต์ ที่องค์พระก็ฝังประดับอัญมณีจัดเรียงอย่างไม้กางเขนที่ด้านหลัง ก็มี บ้างก็ได้จารึกดินสอไว้ด้านหลังว่ามอบให้แก่ใครก็มี
     พระสมเด็จ พิเศษนี้ เนื้อหามวลสารจะเห็นเป็นลักษณะเหมือนไม่ได้ผสมมวลสารอื่น คงเป็นผงวิเศษผสมผงปูนสร้างพระ  เพราะดูไม่มีความหลากหลายในเนื้อพระ(มองด้วยสายตา) เนื้อนวลเนียนคล้ายแป้ง บ้างจึงมีเรียกขานกันว่าเนื้อกระแจะจันทน์