พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ ขอบล่างฟันหนู อาจจะเป็นพระนอกพิมพ์นิยมของวงการ แต่ระยะหลังมาก็เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวางของกลุ่มคนรุ่นที่นิยมแสวงหาพระสมเด็จที่ไม่เชื่อตามเซียนเพียงอย่างเดียว แต่เปิดวิสัยทัศน์กว้างขึ้น โดยจากผู้ที่มีความรู้และมุมมองที่แตกต่างรวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณาด้วย
พระสมเด็จ สิ่งมงคลสูงค่าหลากหลายรูปแบบ มรดกที่สมเด็จโตฝากไว้ให้ลูกหลาน แต่ถูกปิดบังซ่อนเร้นมาตลอดเวลาหลายปี เมื่อถึงเวลา...ฟ้าก็ปิดไม่อยู่ ได้ปรากฏมาให้เห็นทั่วแผ่นดิน ลองเปิดใจศึกษาร่วมกันดู สุดแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านครับ ชมภาพและข้อมูลในอีกช่องทางหนึ่งที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ : พระสกุลวัง พระสมเด็จโต
วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ (ขอบล่างฟันหนู)
พระสมเด็จเจ้าฟ้า พิมพ์กกุสันโธ
ระยะหลังมานี้ผู้เขียนได้พบเห็นพิมพ์ในลักษณะพิมพ์คล้ายกันแต่นื้อหาและรายละเอียดพิมพ์ที่ต่างกัน ก็ไม่ทราบที่มาของขององค์ที่กล่าวถึง ดูมวลสารไม่เก่าเท่าแต่ไม่คิดว่าจะเป็นพระทำปลอมขึ้นมา น่าจะเป็นพระที่สร้างเพื่อสืบทอดตามรอยพิมพ์รุ่นเก่าก็เป็นได้ เป็นคนละวาระแน่แต่จะเป็นช่วงเวลาไหน มีรูปมาให้พิจารณาด้วยครับ
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2564
พระสมเด็จพิมพ์พระประธานฐานขาสิงห์
พระสมเด็จพิมพ์คู่
นอกจากทางวัดระฆังจะนำพิมพ์นี้มาจัดสร้างแล้วทางสายพระสกุลวังก็ได้นำรูปแบบพิมพ์นี้มาจัดสร้างด้วยเช่นกัน เนื้อหามวลสารแตกต่างกันเป็นไปตามแบบและแนวทางของแต่ละสาย
องค์ที่นำมาแบ่งปันให้ชมเป็นพระสมเด็จพิมพ์คู่ของทางสายวัดระฆังครับ
พระสมเด็จพิมพ์เล็บมือ
พระสมเด็จพิมพ์เล็บมือ ลักษณะเป็นทรงมนไม่ได้ตัดขอบแบบสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ด้านหน้าเรียบมีเส้นบังคับพิมพ์และซุ้มครอบแก้วส่วนพิมพ์ด้านในก็มีทั้งที่เป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์ฐานแซมและอื่นๆด้วยเช่นกัน ส่วนหลังเป็นแบบหลังประทุนมีความอูมโค้งพอประมาณ องค์พระมีการลงรักปิดทองร่องชาด แต่จากเวลาที่ผ่านมาเนิ่นนานก์มีคราบไคลและแคลไซด์ปกคลุมผิวพระ บางองค์ก็ถูกล้างผิวออกคงเพราะอยากมองเห็นเนื้อมวลสาร (นำภาพมาลงให้ชมทั้งสองแบบอย่าง)
รูปเหมือนสมเด็จโต
รูปเหมือนสมเด็จโตแบบครึ่งซีกด้านหลังเรียบ พิมพ์นี้มีสร้างในวาระต่อๆมาด้วยลักษณะคล้ายกันแต่ต่างที่มิติความลึกของพิมพ์ หน้าของสมเด็จโตผิดเพี้ยนจากพิมพ์นี้ไปบ้างแต่ก็สวยงามไปอีกแบบ องค์นี้ลงรักชาดเก่า เนื้อมวลสารแห้งละเอียด ขนาดแบบตั้งบูชาได้ไม่ใหญ่นัก
วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2564
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ(ช่างหลวง)
พระสมเด็จ พิมพ์พิเศษ ที่ออกแบบโดยช่างหลวง โดยได้แบบอย่างมาจากพุทธศิลป์คุปตะ ที่องค์พระครองผ้าที่มีความบางแบบแนบเนื้อ เนื้อมวลสารออกเหลืองเป็นลักษณะเนื้อมวลสารของพระสมเด็จพิมพ์พิเศษที่ให้ได้เห็นอยู่ในหลายๆพิมพ์
พระทั้งสององค์ที่นำมาลงเป็นพระพิมพ์เดียวกันต่างที่รูปทรง องค์หนึ่งเป็นทรงสี่เหลี่ยมตัดขอบหลังเรียบ ส่วนอีกองค์เป็นทรงรีขอบโค้งหลังมีความนูนเล็กน้อย