หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระสมเด็จโต พิมพ์พระโบราณ(ซุ้มกอ)

 

     พระสมเด็จ พิมพ์ซุ้มกอนี้เป็นพิมพ์ที่ทำล้อพิมพ์พระโบราณเนื้อหามวลสารแบบขาวละเอียด,มีความแห้ง

พระสมเด็จโต พิมพ์ไพ่ตอง

พระสมเด็จ พิมพ์ฐานหลายชั้น หรือที่เรียกกันกันโดยรูปลักษณ์ว่าพิมพ์ไพ่ตอง ด้วยลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทรงสูง มีรูปพระพุทธนั่งขัดสมาธิเพชรอยู่บนบัวและฐานหลายชั้น ปรากฏพระกรรณ มีซุ้มครอบแก้วแบบกำแพงแก้ว๓ชั้น เนื้อมวลสารมองเห็นหลายอย่างเมื่อเข้าแว่นขยาย ว่ากันว่าพิมพ์นี้โดดเด่นในด้านการเสี่ยงโชคเป็นอย่างยิ่ง



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พระสมเด็จโต พิมพ์รูปเหมือน(ซุ้มประตู)


เป็นพิมพ์ช่างหลวงอีกพิมพ์หนึ่ง ที่เป็นรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จโตนั่งในซุ้มประตูที่มีศิลปะประยุกต์แบบโกธิคผสมลวดลายแบบไทย เป็นจินตนาการของช่างในสมัยนั้นที่ได้รับอิทธิพลจากชาวต่างชาติที่เข้ามายังสยามประเทศ เนื้อมวลสารละเอียดหนึกนุ่ม วรรณะอมเหลือง

พระสมเด็จ พิมพ์พระโบราณเนื้อดิน


พระสมเด็จ เนื้อดิน ดูออกจะแปลกตาสักหน่อย มีไม่น้อยที่สมเด็จพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)  ท่านสร้างพระเป็นเนื้อดิน แต่โดยส่วนมากแล้วท่านจะสร้างเพื่อวัดอื่นหรือบรรจุไว้ที่วัดอื่น จะเป็นที่ต่างจังหวัดเสียส่วนใหญ่ ดังเช่นองค์นี้ท่านสร้างไว้ที่วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี เป็นพระเนื้อดินที่ไม่ธรรมดา ด้วยเพราะมีผงเหล็กไหลโรยอยู่ด้านหน้าองค์พระด้วย อิทธิคุณเด่นทางด้านมหาลาภ

พระสมเด็จ พิมพ์เจดีย์เล็กแหวกม่าน


องค์พระขนาดย่อม เนื้อขาวแห้งละเอียด เดิมลงรักแล้วล้างออก เศษรักที่หลงเหลืออยู่เป็นเกล็ดแห้งจางๆ พิมพ์นี้ที่รู้จักกันว่าเป็นทางกรุบางขุนพรหม 

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

พระสมเด็จเพชรดำ หลังผนึกพระท่ากระดาน (สายวัง)





พระสมเด็จเพชรดำองค์ที่ลงให้ชมนี้ เป็นพระที่เชื้อพระวงศ์จัดสร้างขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์ จากหลักฐานการสร้างพระที่มีคตินิยมและมวลสาร ทราบว่าเป็นดำริของกรมพระวังบวรวิชัยชาญให้จัดสร้างขึ้น มวลสารเป็นผงกฤตยาคม ผงพุทธคุณของสมเด็จโตผสมกับเพชรดำ(ซึ่งนับว่าเป็นธาตุทนสิทธิ์-กายสิทธิ์ชนิดหนึ่ง)บดละเอียดสีดำแวววาวเมื่อต้องแสง และอัญมณีดิบสีออกเขียว ด้านหลังผนึกด้วยพระท่ากระดานตะกั่วสนิมแดง
ด้วยมวลสาร การลงอักขระอธิษฐานจิตปลุกเสกของสมเด็จท่าน กอปรกับความเข้มขลังของพระท่ากระดานโบราณและธาตุกายสิทธิ์ ทำให้พลานุภาพในองค์พระมากมาย (คำบอกกล่าวจากผู้ที่ได้สัมผัสจับพลัง)

   อ้างอิง : หนังสือพระสมเด็จวังหน้า และหลวงพ่อเงิน พิมพ์ช่างหลวง