พระสมเด็จโต
พระสมเด็จ สิ่งมงคลสูงค่าหลากหลายรูปแบบ มรดกที่สมเด็จโตฝากไว้ให้ลูกหลาน แต่ถูกปิดบังซ่อนเร้นมาตลอดเวลาหลายปี เมื่อถึงเวลา...ฟ้าก็ปิดไม่อยู่ ได้ปรากฏมาให้เห็นทั่วแผ่นดิน ลองเปิดใจศึกษาร่วมกันดู สุดแล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านครับ ชมภาพและข้อมูลในอีกช่องทางหนึ่งที่ เฟสบุ๊คแฟนเพจ : พระสกุลวัง พระสมเด็จโต
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565
พระสมเด็จพิมพ์พระมหาจักรพรรดิ(นั่งเมือง)
เป็นพิมพ์ทรงเครื่องกษัตริย์พร้อมด้วยฉัตรข้างและเหนือเศียร มีตัวอักษร ร ๕ น่าจะสร้างวาระที่ผลัดแผ่นดินใหม่ในปี๒๔๑๑ ซึ่งในชุดนี้มีรูปแบบพิมพ์หลายพิมพ์ พิมพ์นี้ดูจะอลังการไม่น้อย
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ หงส์คู่
พระสมเด็จเนื้อเหลืองมวลสารแก่หรดาลกลีบทอง โป่งเหลือง เม็ดมวลสารผงวิเศษของเจ้าประคุณสมเด็จโต พิมพ์นี้ดูเรียบง่ายแต่สูงส่ง
วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
พระสมเด็จนั่งบัวประภามณฑล ตัดชิด
พระสมเด็จพิมพ์นี้มีขนาดเล็กแบบพระคะแนนในปัจจุบัน คงสร้างขนาดนี้ไว้สำหรับสตรี ส่วนใหญ่พระในยุคนั้นจะมีขนาดเขื่องถึงใหญ่เป็นส่วนมาก มีน้อยที่ทำเป็นพิมพ์ขนาดเล็ก ได้พบเห็นหลายพิมพ์ที่ตัดลดทอนจากพิมพ์เดิมเพื่อให้มีขนาดเล็กลงโดยไม่ทำให้เสียรูปแบบพิมพ์ดังเช่นองค์นี้ เนื้อมวลสารเหลืองอ่อนละเอียดหนึกนุ่ม พุทธคุณโดดเด่นทางสายงานการปกครอง
พระสมเด็จพิมพ์ขาสิงห์3ชั้นข้างกนก(ช่างหลวง)
พิมพ์ขาสิงห์3ชั้นข้างกนกที่แกะพิมพ์โดยช่างหลวง มีหลายแม่พิมพ์ทั้งพิมพ์ใหญ่ กลางและเล็ก ซึ่งต่างก็มีความงดงามและมีมิติชัดลึกแบบภาพนูนต่ำ พระชุดพิมพ์พิเศษหลายองค์ที่พบเจอจะถูกเคลือบทาด้วยเทียนขี้ผึ้งเพื่อรักษาเนื้อพระแทนการลงรัก ผ่านเวลามาเทียนขี้ผึ้งเสื่อมสภาพไปบ้างและถูกฝุ่นคราบไคลทับถมปนกันเห็นผิวคราบออกเทา บ้างก็แทรกลงไปตามซอกและรอยยุบย่น ผิวเนื้อพระเดิมจะได้เห็นในส่วนที่นูนขึ้นมา องค์นี้เป็นเนื้อเหลืองที่เรียกกันว่า"เนื้อกล้วย" ส่วนพิมพ์ต่อมาได้มีการสืบทอดประยุกต์ให้เรียบง่ายลดลวดลายลงไปอย่างที่ได้เห็นในพระสมเด็จยุคปลายที่เรียกกันในนาม..."พิมพ์จอมพล"
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ รูปเหมือนพนมมือ
พิมพ์รูปเหมือนที่มีความงดงามของการออกแบบและแกะพิมพ์ เนื้อมวลสารแก่สอเหลืองหรือดินโป่งเหลือง สีออกเหลืองเข้ม เนื้อนี้ในสมัยก่อนท่านเรียกว่าเนื้อกล้วย
พระสมเด็จพิมพ์พิเศษ รูปเหมือนนั่งนาคปรก9เศียร
พิมพ์นี้จัดเป็นพิมพ์พิเศษพิมพ์หนึ่งที่มีลงอยู่ในหนังสือ เป็นเนื้อออกเหลืองซึ่งเนื้อนี้นิยมนำมาสร้างพิมพ์พิเศษในยุคนั้น
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)